ผ้าและกรรมวิธีการทอ
4 เมษายน 2020

มัดหมี่ เป็นวิธีการมัดย้อมและทอที่เก่าแก่มาก ปรากฏและรู้จักโดยทั่วไปในกลุ่มชาวไทลาวและขนชาติอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งกัมพูชา อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เป็นต้น ในประเทศไทยมัดหมี่เป็นเทคนิคที่นิยมในหมู่ชาวไทลาวทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมดรวมไปถึงภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัดปัตตานี กลุ่มไทลาวที่อาศัยอยู่ในอำเภอน้ำปาดและอำเภอฟากท่าของจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมไปถึงการทำลวดลายมัดหมี่ที่ซับซ้อนมากขึ้นเป็นพิเศษในกลุ่มชนที่อยู่ติดกับดินแดนประเทศกัมพูชา และชาวไทครั่งที่นิยมทอทั้งมัดหมี่ จก และขิด เป็นต้น อีกทั้งมัดหมี่ยังปรากฏในผ้าซิ่นของชาวลัวะซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมาก่อนชาวโยนกเชียงแสนหรือชาวไทยวน
มัดหมี่ เป็นผ้าที่สร้างลวดลายจากการย้อมสีเส้นด้ายหรือไหมที่นำไปเป็นเส้นพุ่ง โดยวางแผนออกแบบลายแล้วจึงมัดและย้อม คือการทำลวดลายด้วยวิธีใช้เชือกกล้วยหรือเชือกฟางมัดเส้นด้ายที่ใช้ทอบริเวณที่ไม่ต้องการย้อมสี ซึ่งเป็นไปตามลวดลายที่ต้องการก่อนที่จะนำไปย้อมและทอ เส้นด้ายบริเวณที่มัดไว้จะไม่ติดสีแต่สีจะซึมเข้ามาบ้าง วิธีการ “มัด” เส้นไหมที่เรียกว่า “หมี่” จึงเรียกวิธีการนี้ว่ามัดหมี่ และผ้าที่ทอขึ้นก็เรียกว่าผ้ามัดหมี่ไปด้วย วิธีย้อมเริ่มต้นย้อมจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบตามลวดลายที่กำหนด จะต้องทำซ้ำหลายครั้งถ้าต้องการให้มีหลายสีบนผ้าแล้วจึงนำไปทอลายขัดธรรมดาใช้สองตะกอ ผ้าทั้งสองด้านมีลายเหมือนกันหรือทอลายสองคือใช้สามตะกอ ซึ่งผ้าด้านหนึ่งจะปรากฎลายชัดเจนกว่าอีกด้าน รวมถึงมีเนื้อผ้าแน่นและลวดลายชัดเจนกว่าผ้าทอลายขิด เอกลักษณ์ของผ้าที่ทอด้วยวิธีนี้คือ รอยซึมของสีตามบริเวณที่ถูกมัด และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งของเส้นด้ายในขณะที่ทอ ทำให้ลายที่เกิดขึ้นบนผืนผ้าไม่ชัดนัก วิธีการมัดหมี่บนผ้าทอซึ่งมีมาแล้วกว่าพันปีและมีเฉพาะในประเทศแถบเอเชียเท่านั้น ในประเทศไทยจะพบในกลุ่มชนชาวไทลาวแทบทุกจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ ก็พบแถวภาคกลางแถบจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี และยังพบในกลุ่มชนไทลื้อกลุ่มหนึ่งในจังหวัดน่านก็ใช้วิธีการมัดหมี่ สำหรับผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งเรียกวิธีดังกล่าวว่า มัดก่านหรือคาดก่าน ลวดลายที่ปรากฏบนผ้ามัดหมี่ส่วนใหญ่เป็นลายที่เกิดจากความประทับใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พืช ดอกไม้ สัตว์ เครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง และลายเบ็ดเตล็ด นอกจากนี้ยังพัฒนาลายใหม่ๆ ขึ้นได้จากการออกแบบลายที่มัดย้อม ลวดลายของผ้ามัดหมี่จึงมีอยู่มากกว่า 200 ลาย โดยลายสัตว์ที่นิยมในผ้ามัดหมี่มากที่สุดคือ ลายหมี่นาค มาจากความเชื่อว่านาคเป็นเจ้าแห่งงู ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล นำความสมบูรณ์มาให้ชาวโลก จึงทอขึ้นเพื่อถวายพระในเทศกาลบุญต่างๆ เป็นต้น
“การทอผ้าไหมมัดหมี่เป็นศิลปะเก่าแก่ของโลกอย่างหนึ่ง แต่จะเก่าแก่เพียงไหนนั้น ยังไม่มีหลักฐานมายืนยันได้แน่นอน เพราะทั้งใยไหมและสีย้อมล้วนมากจากธรรมชาติ เมืื่อนานเข้าก็เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เพียงแต่มีหลักฐานว่า มัดหมี่ในทวีปเอเชียมีหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย เขมร ลาว ไทย ในพม่าแถบเชียงตุง และในแคว้นสิบสองปันนา ก็มีบ้าง ส่วนหลักฐานของไทยนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เล่าว่าในการขุดค้นที่บ้านเชียง ได้พบโครงกระดูกที่แสดงว่าคนเราได้ใช้ไหมเป็นเครื่องแต่งกายมา 3-4 พันปีมาแล้ว และหลักฐานปัจจุบันทำให้ทราบว่ากรุงศรีอยุธยา คนไทยก็ใช้ผ้าไหมมัดหมี่กันอยู่แล้ว คือมีจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธารามที่จังหวัดเพชรบุรี แสดงผ้านุ่งลายมัดหมี่ รวมทั้งยังวาดภาพลายโคมห้า โคมเจ็ด และหมากจับ อันเป็นตัวอย่างลายผ้ามัดหมี่ที่เก่าแก่ที่สุดไว้ด้วย มัดหมี่ของแต่ละประเทศก็มีความงดงามแตกต่างกันออกไป เฉพาะมัดหมี่ไทยเท่าที่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพได้รวบรวมไว้มีไม่น้อยกว่า 200 ลายแล้ว และอาจจะมีลายใหม่ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ…..”
ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีและปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์และวรรณคดีของไทยน้ันได้แก่ ผ้าปูม ซึ่งเป็นผ้าที่มีบทบาทมากในราชสำนักไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

มัดหมี่ เป็นผ้าที่สร้างลวดลายจากการย้อมสีเส้นด้ายหรือไหมที่นำไปเป็นเส้นพุ่ง โดยวางแผนออกแบบลายแล้วจึงมัดและย้อม คือการทำลวดลายด้วยวิธีใช้เชือกกล้วยหรือเชือกฟางมัดเส้นด้ายที่ใช้ทอบริเวณที่ไม่ต้องการย้อมสี ซึ่งเป็นไปตามลวดลายที่ต้องการก่อนที่จะนำไปย้อมและทอ เส้นด้ายบริเวณที่มัดไว้จะไม่ติดสีแต่สีจะซึมเข้ามาบ้าง วิธีการ “มัด” เส้นไหมที่เรียกว่า “หมี่” จึงเรียกวิธีการนี้ว่ามัดหมี่ และผ้าที่ทอขึ้นก็เรียกว่าผ้ามัดหมี่ไปด้วย วิธีย้อมเริ่มต้นย้อมจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบตามลวดลายที่กำหนด จะต้องทำซ้ำหลายครั้งถ้าต้องการให้มีหลายสีบนผ้าแล้วจึงนำไปทอลายขัดธรรมดาใช้สองตะกอ ผ้าทั้งสองด้านมีลายเหมือนกันหรือทอลายสองคือใช้สามตะกอ ซึ่งผ้าด้านหนึ่งจะปรากฎลายชัดเจนกว่าอีกด้าน รวมถึงมีเนื้อผ้าแน่นและลวดลายชัดเจนกว่าผ้าทอลายขิด เอกลักษณ์ของผ้าที่ทอด้วยวิธีนี้คือ รอยซึมของสีตามบริเวณที่ถูกมัด และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งของเส้นด้ายในขณะที่ทอ ทำให้ลายที่เกิดขึ้นบนผืนผ้าไม่ชัดนัก วิธีการมัดหมี่บนผ้าทอซึ่งมีมาแล้วกว่าพันปีและมีเฉพาะในประเทศแถบเอเชียเท่านั้น ในประเทศไทยจะพบในกลุ่มชนชาวไทลาวแทบทุกจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ ก็พบแถวภาคกลางแถบจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี และยังพบในกลุ่มชนไทลื้อกลุ่มหนึ่งในจังหวัดน่านก็ใช้วิธีการมัดหมี่ สำหรับผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งเรียกวิธีดังกล่าวว่า มัดก่านหรือคาดก่าน ลวดลายที่ปรากฏบนผ้ามัดหมี่ส่วนใหญ่เป็นลายที่เกิดจากความประทับใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พืช ดอกไม้ สัตว์ เครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง และลายเบ็ดเตล็ด นอกจากนี้ยังพัฒนาลายใหม่ๆ ขึ้นได้จากการออกแบบลายที่มัดย้อม ลวดลายของผ้ามัดหมี่จึงมีอยู่มากกว่า 200 ลาย โดยลายสัตว์ที่นิยมในผ้ามัดหมี่มากที่สุดคือ ลายหมี่นาค มาจากความเชื่อว่านาคเป็นเจ้าแห่งงู ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล นำความสมบูรณ์มาให้ชาวโลก จึงทอขึ้นเพื่อถวายพระในเทศกาลบุญต่างๆ เป็นต้น
“การทอผ้าไหมมัดหมี่เป็นศิลปะเก่าแก่ของโลกอย่างหนึ่ง แต่จะเก่าแก่เพียงไหนนั้น ยังไม่มีหลักฐานมายืนยันได้แน่นอน เพราะทั้งใยไหมและสีย้อมล้วนมากจากธรรมชาติ เมืื่อนานเข้าก็เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เพียงแต่มีหลักฐานว่า มัดหมี่ในทวีปเอเชียมีหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย เขมร ลาว ไทย ในพม่าแถบเชียงตุง และในแคว้นสิบสองปันนา ก็มีบ้าง ส่วนหลักฐานของไทยนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เล่าว่าในการขุดค้นที่บ้านเชียง ได้พบโครงกระดูกที่แสดงว่าคนเราได้ใช้ไหมเป็นเครื่องแต่งกายมา 3-4 พันปีมาแล้ว และหลักฐานปัจจุบันทำให้ทราบว่ากรุงศรีอยุธยา คนไทยก็ใช้ผ้าไหมมัดหมี่กันอยู่แล้ว คือมีจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธารามที่จังหวัดเพชรบุรี แสดงผ้านุ่งลายมัดหมี่ รวมทั้งยังวาดภาพลายโคมห้า โคมเจ็ด และหมากจับ อันเป็นตัวอย่างลายผ้ามัดหมี่ที่เก่าแก่ที่สุดไว้ด้วย มัดหมี่ของแต่ละประเทศก็มีความงดงามแตกต่างกันออกไป เฉพาะมัดหมี่ไทยเท่าที่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพได้รวบรวมไว้มีไม่น้อยกว่า 200 ลายแล้ว และอาจจะมีลายใหม่ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ…..”
ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีและปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์และวรรณคดีของไทยน้ันได้แก่ ผ้าปูม ซึ่งเป็นผ้าที่มีบทบาทมากในราชสำนักไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
Previous
ประวัติผ้ามัดหมี่
You May Also Like
